Imaging Department

ให้บริการตรวจทางรังสี คลื่นเสียงความถี่สูงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีโปรแกรมการตรวจที่หลากหลาย เช่น การตรวจทั้งร่างกาย การตรวจโรคหลอดเลือดหัวใจ การตรวจไต การตรวจกระดูก/ปอด/ต่อมไทรอยด์/ตับ/กระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นต้น ซึ่งรายงานผลโดยรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยเทคโนโลยีทางรังสีวิทยา

  • เอกซเรย์ทั่วไป (X-ray) แบบเคลื่อนที่ portable x ray
  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 
  • เครื่องตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI – 1.5 Tesla)
  • เครื่องตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammography)
  • รังสีร่วมแพทย์ (Intervention)
  • เครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)

MRI – Magnetic Resonance Imaging 1.5 Tesla

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคโดยอาศัยคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กของไฮโดรเจนอะตอมภายในร่างกาย ภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูง สามารถตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ได้ทั่วร่างกาย โดยสามารถตรวจได้หลายระนาบโดยไม่ต้องเปลี่ยนท่าผู้ป่วย และไม่ใช้รังสีเอกซ์ สามารถตรวจอวัยวะได้ชัดเจน มีความปลอดภัยสูง มีความเสี่ยงต่อการแพ้รังสีต่ำมาก โดยตรวจพบรอยโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น MRI สามารถวินิจฉัยส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น สมอง กระดูกสันหลัง ระบบกล้ามเนื้อและข้อ ท่อทางเดินน้ำดีและถุงน้ำดี เต้านม เป็นต้น

CT Scan 

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง มีความละเอียดสูงมาก สามารถสร้างภาพได้ถึง 64 ภาพต่อการหมุน 1รอบ (360 องศา) ด้วยความเร็วเพียง 0.4วินาที สามารถตรวจร่างกายได้เกือบทุกส่วนแม้กระทั่งหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาได้อย่างแม่นยำ สามารถลดปริมาณรังสีกว่าเท่าตัว สามารถให้เกิดภาพที่ชัดเจนทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ช่วยในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวดเร็วขึ้น ช่วยให้การตรวจผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยเด็ก ทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

Digital Mammogram with Ultrasound Breast

เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม เป็นเครื่องเอกซเรย์ชนิดพิเศษ ที่ใช้ตรวจเต้านมโดยเฉพาะ มีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องแมมโมแกรมที่ใช้ฟิล์ม ผู้รับการตรวจจะได้รับรังสีต่ำ แต่ให้ผลถูกต้อ งแม่นยำสูงถึง 90% สามารถแยกความแตกต่างของไขมันและเนื้อเยื่อชนิดต่าง ๆ ของเต้านมได้อย่างชัดเจน สามารถหาความผิดปกติของเต้านม ตำแหน่งของก้อนเนื้องอก และพยาธิสภาพอื่นๆ สามารถมองเห็นก้อนเล็กกว่า 1 เซนติเมตรได้ สามารถเห็นเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้นที่การเปลี่ยนแปลงยังอยู่เฉพาะในเนื้อเยื่อภายในท่อน้ำนม ที่ยังไม่สามารถคลำพบได้ ขั้นตอนการตรวจปลอดภัย และไม่ทำอันตรายใด ๆ ต่อเต้านม แม้กระทั่งผู้ที่เสริมเต้านมมาแล้ว ก็สามารถรับการตรวจเต้านมได้ ทั้งนี้ จะมีการตรวจอัลตราซาวด์เต้านมร่วมด้วย เพื่อนำผลการตรวจทั้งสองมาพิจารณาประกอบกัน ทำให้การวินิจฉัยมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

บริการของศูนย์รังสีวิทยาวินิจัย

  • ถ่ายภาพรังสีทั่วไป (General Radiography)
  • การตรวจเอกซเรย์เต้านมด้วยระบบดิจิตอล (Digital Mammography)
  • การตรวจด้านคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography)
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (64 slice computed tomography)
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI)
  • การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Cardiac Computed Tomography)
  • การใส่เครื่องกรองลิ่มเลือดที่ตำแหน่งเส้นเลือดใหญ่ (IVC filter placement)
  • การรักษาเส้นลือดขอดโดยใช้คลื่นวิทยุ (Endogenous Radiofrequency Ablation
  • การตรวจและรักษาที่ไม่ผ่านทางหลอดเลือดโดยใช้เครื่องมือทางรังสีเช่น Ultrasound, Fluoroscopy หรือ CT Scan ร่วมด้วย (Non-vascular Intervention)
  • การเจาะตัดชิ้นเนื้อในร่างกายผ่านทางผิวหนัง (Percutaneous Core Needle Biopsy) เช่น
  • การเจาะตัดชิ้นเนื้อของก้อนในปอด (Lung Biopsy)
  • การตัดเจาะชิ้นเนื้อของก้อนในช่องท้อง (Abdominal mass Biopsy)
  • การเจาะตัดชิ้นเนื้อของก้อนในเต้านม (Breast Biopsy)
  • การเจาะดูดของเหลวภายในร่างกายผ่านทางผิวหนัง (Percutaneous Aspiration)
  • การใส่สายระบายที่ไต (Percutaneous Nephrostomy)
  • การใส่สายระบายของเหลวในร่างกาย เช่น หนอง (Percutaneous Drainage)
  • การใส่สายระบายน้ำดีในตับ (Percutaneous Transhepatic Biliary Drainage)
  • การรักษามะเร็งตับโดยใช้คลื่นความร้อน (Radiofrequency Ablation)